พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ระหว่างวันที่ 9 – 15 กันยายน พ.ศ. 2565
ออกประกาศวันศุกร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2565
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 108/2565
การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 10 – 13 ก.ย. 65 ร่องมรสุมเริ่มมีกำลังอ่อนลงและจะเลื่อนขึ้นไปพาดผ่านภาคเหนือตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังอ่อนลง ส่วนในช่วงวันที่ 14 – 15 ก.ย. 65 ร่องมรสุมที่พาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะมีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น โดยทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
คำเตือน ระยะนี้บริเวณประเทศไทยจะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง สำหรับในช่วงวันที่ 14 -15 ก.ย. บริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มระมัดระวังในการเดินเรือ และหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง
คำแนะนำสำหรับการเกษตร
ภาคเหนือ
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์
มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ตลอดช่วง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 2-4 ชม.
- ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง โดยทำทางระบายน้ำออกจากพื้นที่การเกษตรเพื่อไม่ให้น้ำท่วมขังในพื้นที่เพาะปลูก รวมทั้งควรหลีกเลี่ยงการนำเครื่องจักรกลหนักเข้าพื้นที่การเกษตร เพราะอาจทำให้ดินแน่นส่งผลต่อระบบรากพืชได้ สำหรับพื้นที่ซึ่งมีฝนตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราและแบคทีเรีย ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก โดยเฉพาะโรครากเน่าโคนเน่าในมะละกอ โรคราน้ำฝนในลำไย โรคยอดเน่าในสับปะรด และโรคเน่าเละในผักที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย รวมทั้งโรคใบจุดที่เกิดจากเชื้อราในพืชตระกูลกะหล่ำและผักกาด เป็นต้น
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์
มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ตลอดช่วง ลมแปรปรวน ความเร็ว 10-20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 20-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 2-5 ชม.
- ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง โดยควรทำทางระบายน้ำออกจากแปลงปลูก เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังในพื้นที่การเกษตรและโคนต้นพืชนาน ทำให้รากพืชเน่า ต้นพืชตายได้ ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลหลังคาโรงเรือนอย่าให้รั่วซึมและไม่ควรปล่อยให้พื้นคอกชื้นแฉะ เพื่อป้องกันสัตว์เปียกชื้นหนาวเย็น อ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย สำหรับพื้นที่ซึ่งมีฝนตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ในพืชไร่ ไม้ผลและพืชผัก โดยเฉพาะโรคหัวเน่าในมันสำปะหลังและผลเน่าในแก้วมังกร เป็นต้น
ภาคกลาง
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์
ในช่วงวันที่ 10 – 13 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 14 – 15 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-37 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 65-85 % ความยาวนานแสงแดด 3-6 ชม.
- ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง รวมทั้งควรหลีกเลี่ยงย่ำน้ำที่สกปรก หากจำเป็นต้องเดินลุยน้ำควรสวมรองเท้าบูททุกครั้ง เพื่อป้องกันโรคเลปโตสไปโรซิส หรือ โรคฉี่หนู ส่วนพื้นที่การเกษตรที่เป็นที่ลุ่ม เกษตรกรควรทำทางระบายน้ำออกจากแปลงปลูก เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังในพื้นที่การเกษตรและโคนต้นพืชนาน ทำให้รากพืชเน่า ต้นพืชตายได้ สำหรับพื้นที่ซึ่งมีฝนตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก โดยเฉพาะโรคดอกเน่าในดาวเรืองและโรคยอดเน่าในกล้วยไม้เป็นต้น
ภาคตะวันออก
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์
มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ตลอดช่วง ในช่วงวันที่ 10 – 13 ก.ย. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตรส่วนในช่วงวันที่ 14 – 15 ก.ย. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-36 องศาเซลเซียสความชื้นสัมพัทธ์ 70-90 % ความยาวนานแสงแดด 2-4 ชม.
- ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง โดยทำทางระบายน้ำออกจากพื้นที่การเกษตรเพื่อไม่ให้น้ำท่วมขังในพื้นที่เพาะปลูก สำหรับพื้นที่ซึ่งมีฝนตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ในพืชไร่ ไม้ผลและพืชผัก เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล โรคใบติดหรือใบไหม้ในทุเรียน โดยเฉพาะโรคใบติดในทุเรียน หากความชื้นสูงเชื้อราจะสร้างเส้นใยยึดใบให้ติดกัน ใบที่เป็นโรคจะไหม้ แห้ง และหลุดร่วง
ภาคใต้
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์
ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 10 – 13 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 14 – 15 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 – 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 65-85 % ความยาวนานแสงแดด 3-6 ชม.
ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ตั้งแต่จังหวัดพังงาขึ้นมา:ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดภูเก็ตลงไป : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 14 – 15 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ตั้งแต่จังหวัดพังงาขึ้นมา:ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดภูเก็ตลงไป : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-90 % ความยาวนานแสงแดด 2-5 ชม.
- ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง โดยทำทางระบายน้ำออกจากพื้นที่การเกษตรเพื่อไม่ให้น้ำท่วมขังในพื้นที่เพาะปลูก สำหรับในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากขาวและโรคหน้ากรีดยางในยางพารา โรคราสีชมพูในไม้ผลและยางพารา โรคราสนิมในกาแฟ เป็นต้น ส่วนเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อโดยตรง เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทันจนอ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย และหลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำ เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นและเป็นการเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำ
ลักษณะอากาศในช่วง 7 วันที่ผ่านมา
ระหว่างวันที่ 2 – 8 กันยายน 2565 ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือในระยะครึ่งแรกของช่วง โดยพาดเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนบนในวันที่ 2 และ 4 ก.ย. จากนั้นร่องมรสุมได้เลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง และภาคตะวันออกเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง ชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนกลาง และประเทศกัมพูชา ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรงในระยะกลางและปลายช่วง ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนตกชุกหนาแน่นเกือบตลอดช่วง กับมีรายงานลมกระโชกแรงและน้ำท่วมในหลายพื้นที่ สำหรับภาคใต้มีฝนตลอดช่วงโดยเฉพาะทางฝั่งตะวันตกของภาคมีฝนตกชุกหนาแน่นเกือบตลอดช่วง
ภาคเหนือ มีฝนร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ในระยะต้นช่วง จากนั้นมีฝนเพิ่มขึ้นอยู่ในเกณฑ์มากกว่าร้อยละ 65 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดช่วง กับมีฝนหนักมากบางแห่งในวันที่ 6 ก.ย. นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน น่าน และพิจิตรในวันที่ 1 ก.ย. จังหวัดลำปางในวันที่ 1, 5 และ 7 ก.ย. จังหวัดเพชรบูรณ์ในวันที่ 4-5 ก.ย. จังหวัดเชียงราย พะเยา และเชียงใหม่ในวันที่ 5 ก.ย. กับมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดเชียงรายในวันที่ 1 ก.ย. จังหวัดพิษณุโลกวันที่ 6 ก.ย. และจังหวัดแพร่ในวันที่ 7 ก.ย. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนมากกว่าร้อยละ 60 ของพื้นที่และมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดช่วง โดยมีฝนหนักมากบางพื้นที่ในวันที่ 4 และ 6 ก.ย. นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมต่อเนื่องจากช่วงที่ผ่านมาบริเวณจังหวัดอุบลราชธานี และมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดเลยในวันที่ 4 ก.ย. จังหวัดศรีสะเกษในวันที่ 5 ก.ย. และจังหวัดชัยภูมิในวันที่ 8 ก.ย. กับมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดกาฬสินธุ์ในวันที่ 1 ก.ย. และมีรายงานดินถล่มบริเวณจังหวัดหนองคายในวันที่ 6 ก.ย. ภาคกลาง มีฝนมากกว่าร้อยละ 75 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 2 และ 5 ก.ย. มีฝนร้อยละ 35-50 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งตลอดช่วง และมีฝนหนักมากบางพื้นที่ในวันที่ 6-7 ก.ย. นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมต่อเนื่องจากช่วงที่ผ่านมาบริเวณจังหวัดอ่างทอง และมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดสระบุรีในวันที่ 1 ก.ย. กับมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดสระบุรีในวันที่ 1 ก.ย. จังหวัดราชบุรีและสิงห์บุรีในวันที่ 3 ก.ย. และจังหวัดอุทัยธานีในวันที่ 6 ก.ย. ภาคตะวันออก มีฝนร้อยละ 35 ของพื้นที่ในวันแรกของช่วง จากนั้นมีฝนมากกว่าร้อยละ 65 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งตลอดช่วง และมีฝนหนักมากบางพื้นที่ในวันที่ 4, 6, 7 และ 8 ก.ย. นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดนครนายกในวันที่ 2-4 ก.ย. จังหวัดชลบุรีในวันที่ 6 ก.ย. จังหวัดจันทบุรีในวันที่ 7-8 ก.ย. จังหวัดระยองในวันที่ 4, 5 และ 7 ก.ย. และจังหวัดตราดและสระแก้วในวันที่ 8 ก.ย. กับมีรายงานดินถล่มบริเวณจังหวัดระยองในวันที่ 7 ก.ย. และจังหวัดชลบุรีและฉะเชิงเทราในวันที่ 8 ก.ย. ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีฝนร้อยละ 30-50 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 6-7 ก.ย. มีฝนมากกว่าร้อยละ 65 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดช่วง ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนมากกว่าร้อยละ 80 ของพื้นที่เกือบตลอดช่วง โดยมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งตลอดช่วง นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดภูเก็ตและกระบี่ในวันที่ 2 ก.ย. และจังหวัดตรังในวันที่ 4 ก.ย.
ช่วงที่ผ่านมามีฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดพิษณุโลก อุดรธานี นครพนม อุบลราชธานี นครสวรรค์ อุทัยธานี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี กรุงเทพมหานคร กาญจนบุรี ราชบุรี สมุทรปราการ นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด ระนอง พังงา กระบี่ และสตูล ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ เชียงราย พะเยา เชียงใหม่ ลำพูน น่าน ตาก สุโขทัย กำแพงเพชร พิจิตร เพชรบูรณ์ เลย หนองคาย หนองบัวลำภู สกลนคร มุกดาหาร กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ ยโสธร ชัยนาท สิงห์บุรี ลพบุรี สุพรรณบุรี นนทบุรี นครปฐม ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช นราธิวาส ภูเก็ต และตรัง
ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา